แนะนำ โบคาฉึไทย

เป้าหมายของการทำเวบ โบคาฉึ ไทย นี้ มีขึ้นเพื่อ ให้ความรู้
การหมัก ขยะอาหาร ด้วยโบคาฉึ กำเนิด โบคาฉึ คือ ที่ ญี่ปุ่น
และ เริ่มใช้อย่างแพร่หลาย ใน อาเซี่ยน แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
ในประเทศไทย น่าจะเป็นเพราะ คนส่วนใหญ่
ไม่ตะหนักว่าขยะอาหารที่เน่าเสียได้
ไม่ควรที่จะนำไปทิ้งรวมกันเพื่อให้เทศบาลนำไปฝังกลบ
การที่เราผูกถุงพลาสติกกับขยะอาหารทุกสิ่งอย่าง
เป็นเพียงการผลักภาระ ไปสู่หลุมขยะในเมือง
เมื่อพื้นที่เหล่านั้นไม่สามารถ รองรับขยะที่เพิ่มขึ้นได้ทุกวัน
ก็จะส่งผลทางมลภาวะ กลับมาสู่เมือง ทั้งเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
ส่งกลิ่นเหม็น ไม่ว่า ทางอากาศ ทางน้ำ
ขยะอาหารยังปนเปื้อนไปสู่ ขยะรีไซเคิล ทำให้ การ
แยกขยะทำได้ยาก มีต้นทุนในการคัดแยก อย่างไรก็ดี
ผู้เขียน พบว่า พื้นที่ ท่องเที่ยว ในหลายพื้นที่ (
ที่มีต้นทุนการเก็บขยะ ที่สูงมาก เช่น เกาะพะงัน เกาะสมุย
ดอยต่างๆ เชียงใหม่ เชียงราย ) เริ่มตะหนัก ที่จะหาความรู้ และ
ทดลองใช้ ถังโบคาฉึ ในการหมักขยะอาหาร และ
นำไปฝังกลบใน พื้นที่ของสวน เป็นการพื้นฟู ดิน
และทำให้การเกษตร เป็นอินทรีย์ ได้ผลผลิตกลับมา บริโภค
อย่างปลอดภัย
ความหมาย Bokashi composting การหมักขยะอาหารโดย
โบคาฉึ
โบคาฉึ เป็นชื่อกระบวนการ ย่อยสลาย อินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน
โดยใช้กลุ่มจุลินทรีย์จำเพาะ

ผลของมันจะ ทำให้ เกิดการผุพังของ ขยะครัวได้
ย่อยสลายอย่างรวดเร็วด้วย จุลินทรีย์ในดิน***Soil Biota ***
*** ความเร็วในการย่อยสลาย เมื่อเปรียบเทียบ
กับการที่เราไม่ได้ทำการหมักโบคาฉึ การกลบดินเลย การผุพัง
ย่อยสลายอาจใช้เวลาถึง ครึ่งปี หนึ่งปี
นอกจากนี้การย่อยสลายโดยออกซิเจน จะเกิดกลิ่นเหม็น
การฝังกลบโดยไร้ออกซิเจนก็เช่นกัน จะเกิดกาซไข่เน่า
และใช้เวลานานกว่าจะย่อยสลาย การหมักโบคาฉึจะใช้เวลา 3
สัปดาห์ในถังหมัก และ 3-4 สัปดาห์ที่ฝังกลบในดิน
ประโยชน์ อีกอย่างของถังโบคาฉึ คือระบบปิดที่
สารอาหารจะคงอยู่ ไม่หายไป และผู้ใช้ไม่ต้องกังวล ว่า จะมี มด
หนู แมลงวัน ปลวก แมลงสาบ มารบกวน
อีกทั้งกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็จะจำกัด อยู่ ภายในถัง และควบคุม
พื้นที่ได้ ไม่เหมือนการฝังกลบ ที่ต้องเพิ่มพื้นที่การขุด กลบ และ
เพราะใช้พื้นที่น้อย บ้านเรือน สามารถ หา พื้นที่ เช่น ใต้
ซิงค์ล้างจาน ในสวนที่มีร่มเงา หรือ หลังบ้าน( ห้ามเป็นบริเวณ
ที่แดดส่องถึงเป็นเวลานาน อุณหภูมิที่สูง ฆ่า จุลินทรีย์ในถัง )
คำจำกัดความ

อุปกรณ์ ที่ใช้ในการหมักขยะอาหารโดย โบคาฉึ

ถังโบคาฉึ ขนาด 30-45 ลิตร ,ส่วนประกอบสำคัญ ก้นถังเจาะรู
ใส่วาล์วน้ำ ไว้ระบายน้ำหมักอีเอ็ม ออกเพื่อ นำไปรดน้ำต้นไม้
หรือ ใส่ในส้วมเพื่อลดกลิ่นอับ และกลิ่นไม่พึงประสงค์
ฐานตาข่ายยกจากพื้นถัง 2 นิ้ว วงตาข่ายเขียว
กันเศษอาหารตกลงไปก้นถัง พลั่วเกลี่ยขยะ และ
แผ่นยางกดชั้นบนเพื่อให้เป็นการหมักที่ไร้อากาศ เวลาใช้
โดยเติมขยะอาหารทุกวัน โรยทับด้วย รำ
อีเอ็ม ปิดทับด้วยแผ่นยางไม่ให้อาหารสัมผัสอากาศ
ปิดฝาถังรัดด้วยแหวนรัด ป้องกันสัตว์ และแมลง มาวางไข่ หรือ
คุ้ยเขี่ย

รำอีเอ็ม EMเป็นคำติดปากเรียกของ คนไทย
โดยที่คนจำนวนมาก ไม่ทราบ ความหมาย
EM คือ Essential Microorganism หรือแปลเป็นไทยว่า
จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์
เช่น ยิสต์ แลคโตแบคทีเรีย และ PNSB รำอีเอ็ม เกิดจากการใช้
รำเป็นแหล่งคาร์บอนให้กับจุลินทรีย์เพาะตัว
สามารถผลิตจากรำข้าวไทย หรือรำข้าวสาลี
หรือรำที่ไม่ได้มาจากข้าว เช่น กากเมล็ดกาแฟ ขี้เลื่อย etc

วิธีการหมักขยะครัวโดยถัง โบคาฉึ ให้ สำเร็จ ไร้กลิ่น
และปลายทางคือปุ๋ยอินทรีย์ ในสวน
ขยะในครัวไม่ว่า จะเป็น เปลือกผลไม้ กล้วย ส้มโอ มะละกอ
แตงโม เศษผัก เนื้อสัตว์ เปลือกกุ้ง ก้างปลา Diary , เศษข้าว

หลักคิดที่สำคัญ คือการนำจุลินทรีย์
มาทำให้วัสดุออแกนิคของเราย่อยสลายด้วยการหมัก
ผลลัพธ์ที่เราต้องการ อาจมีการผิดพลาด หาก
คุณไม่ทำความเข้าใจ กับ สิ่งแวดล้อมที่อาจ ไม่เหมาะสมกับ
การหมักและดำรงชีพของ จุลินทรีย์ เช่น หากคุณ
เก็บถังไว้ในที่แจ้ง ที่แสงแดดทำให้ อุณหภูมิสูง จนจุลินทรีย์ตาย
ความชื้นที่มากเกินไป ( เราต้องไม่ใส่ น้ำแกง น้ำผลไม้
น้ำกะทิโดยตรงลงในถัง เอาแต่กากลงไปหมัก)
เมื่อเศษอาหารคายน้ำออกมา โดยการหมักกับ EM
เราจำเป็นต้อง เปิดวาล์วเพื่อระบายน้ำชาอีเอ็ม ออกมา ทุก 2-3
วัน หากไม่ เราจะพบกลิ่นไม่พึงประสงค์ ปกติ ( น้ำอีเอ็มที่ได้
แนะนำให้ นำไปรดต้นไม้เป็นการเพิ่มอีเอ็มในดิน
โดยเจือจางในน้ำประปา 50-100 เท่า เพื่อลดความเป็นกรด ลง
นอกจากนี้ยังนำไปใช้ลดกลิ่น ในห้องน้ำได้ด้วย ) การหมักอีเอ็ม
จะพบ ปื้นขาว คล้ายรา อันนี้ ถือว่าถูกต้อง แต่หาก มีสีอื่น เช่น
เขียว น้ำตาล หรือ ดำ แสดงว่า จุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น
ไม่ได้เป็นตามที่เราต้องการ อาจต้องลดความชื้นในถังหมัก
ด้วยการใส่ เศษกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือทิชชู
เพื่อดูดซับความชื้น

ความถึ่ ในการเปิดฝาถัง ที่หมัก แนะนำ ให้ทำทุก 24 ชม. หรือ
มากกว่านั้น ไม่ควร เปิดถัง เพื่อ เติมขยะอาหาร บ่อยเกินไป
ควรให้อย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้
จุลินทรีย์ได้ทำการเพาะฟักและได้มีการหมักแบบไร้ออกซิเจน
การเปิดถังบ่อยๆ เช่น 3 เวลาหลังอาหาร จะ
ทำให้การหมักลดประสิทธิภาพ เนื่องจาก มี ออกซิเจน
ถูกเติมเข้าไปตลอดเวลา เราควรมี ภาชนะใส่กากอาหาร เพื่อ
รอการหมัก ในรอบวัน การพักขยะอาหาร ไว้นานเกินกว่า 48
ชม ก็ไม่ดี เช่นกัน เพราะอาจมีจุลินทรีย์อื่นๆ ขยายตัว และ
อาจมี การวางไข่ ของแมลง เช่น ผลไม้ จะมี แมลงหวี่
ผลของการที่ขยะเรา มีไข่ของ หนอน ก็จะพบ หนอน
ที่ฟักตัวออกมา พยายาม คลานขึ้นมาที่ฝาถัง เนื่องจากอาหาร
ที่หมักไว้เป็นกรด ทำให้ หนอน เหล่านั้น
ต้องหนีจากสภาพที่มันดำรงชีวิตไม่ได้
สุดท้าย ของ กระบวนการหมัก
เมื่อขยะอาหารเต็มถัง
เราจะยังคงหมักขยะอาหารเหล่านี้ต่อไปอีก 21 วัน ( 3 อาทิตย์
หรือ หากรอไม่ได้ ควรอย่างน้อย 2 อาทิตย์) ระหว่างนี้
เราจะยังคงต้อง ถ่ายน้ำชาอีเอ็ม ออกทุก 2-3 วัน จนกว่า
จะฝังกลบ เพราะฉนั้น การหมักขยะอาหารด้วยวิธีนี้
เราจึงควรมี ถังอีก 1 ใบ เพื่อ ให้ ใบแรก ได้ จบขบวนการหมัก
และความรวดเร็วของการ ผุพังของเศษซากอาหาร
เมื่อถูกฝังลงในดิน เราควรขุดดิน ให้ลึก 6-12 นิ้ว
เพื่อฝังขยะอาหารของเรา จะพบได้ว่า ขยะอาหาร
จะยังคงสภาพ เหมือน กับ วันแรกที่เราทำการหมัก
ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เมื่อ เรา มาลองขุดดู ภายใน 21-28 วัน

ก็จะพบการผุพัง และ สลายเป็นดิน ที่ค่อนข้างเร็ว จะพบ
scavenger มากมาย เช่น ไส้เดือนดิน Isopod , etc
เราสามารถ ปลูกผัก หรือ ต้นไม้ ลงบนแปลงนี้ ได้ ตั้งแต่
สองอาทิตย์ที่ กลบฝัง เพราะค่าความเป็นกรด
ที่เกิดจากการหมักก็จะลดลงแล้ว เช่นเดียวกับที่ไส้เดือน
จะเริ่มมากินซากอาหาร ก็จะมาหลังจาก
ความเป็นกรดได้ลดลงแล้วเช่นกัน

การล้างถัง และ อุปกรณ์

ควรทำให้ สะอาด ตากแดด ฆ่าเชื้อ หรือ เช็ดด้วย น้ำส้มสายชู
ฆ่าเชื้อ ก่อน นำกลับมาใช้ใหม่

ขอขอบคุณ ที่ท่าน ช่วยกัน ลดขยะอาหาร
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ใน การบำรุงดิน
เพื่อการบริโภคไร้สารเคมี
ขอฝาก ผู้สนับสนุน และ ผู้ผลิต ถังโบคาฉึ พร้อมรำอีเอ็ม
ในราคาถูกกว่า ของนำเข้า

บริษัท บลู บลู โอเชี่ยน จำกัด
6/122 ซ.พระยาสุเรนทร์ 33 บางชัน คลองสามวา กทม. 10510
line id : worawutkl